1. การปรับเปลี่ยนวัสดุ
จากปัญหาจากการที่มีโรงงานผลิตบาตรปั๊มเกิดขึ้น ควรมีการปรับเปลี่ยนวัสดุในการทำบาตรให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น จากเดิมที่ใช้ตัวถังเหล็กยางมะตอย ปัจจุบันเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น ชาวบ้านบาตรจึงควรหันมาทำบาตรจากเหล็กแผ่นแทน ถ้าหากเกิดการปรับตัวข้างต้น จะทำให้อาชีพการทำบาตรของชาวบ้านบาตรยังสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะค่าแรงที่สูง ขึ้น และคุณภาพบาตรที่มากขึ้น
2. ประชุมเพื่อหาวิธีถ่ายทอดความรู้
จากปัญหาการสืบทอดวิชาช่างบาตรของคนรุ่นใหม่นั้น ชุมชนควรมีการประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนในชุมชนอย่างจริงจัง ว่าแต่ละคนในชุมชนมีความคิดคือแนวทางอย่างไรในการแก้ไข จัดการกับปัญหาที่ชุมชนกำลังเผชิญอยู่ ควรมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลที่สนใจจะศึกษาวิธีการทำบาตรอย่างเป็นระบบ ชี้แนะแนวทางในการประกอบอาชีพ ว่านอกจากจะได้ผลบุญทางจิตใจที่ได้รับใช้พระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีได้รายได้ค่อนข้างดี สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตได้ มีการปลูกฝังคนในชุมชน หรือเด็กรุ่นใหม่ให้ตระหนักและให้เห็นคุณค่าของบาตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนบ้านบาตรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
4. แสดงให้เห็นความสำคัญ
จากปัญหากระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆของรัฐ ไม่เล็งเห็นความสำคัญของการทำบาตรด้วยมือ ของชาวชุมชนบ้านบาตรเท่าที่ควรนั้น ควรมีการร ณรงค์ให้องค์กรต่างๆของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หันมาให้ความสำคัญของการทำบาตรด้วยมือที่อยู่คู่กับสังคมไทยและพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน และเพื่อเป็นการดำรงรักษาภูมิปัญญาในการทำบาตรด้วยมือต่อไปในอนาคต
3. จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณค่า / อนุรักษ์
3. จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและสังคมไทยนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้รำลึกถึงคุณค่าของบาตรบุ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการทำบาตรด้วยมือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี ควรมีการรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ รักษาวิธี และกระบวนการการทำบาตรด้วยมือเอาไว้